- November 20, 2021
- 6:38 pm
1. หลีกเลี่ยงอาหารแข็งและเหนียว
หลีกเลี่ยงอาหารแข็งและเหนียวหรืออาหารชนิดใดก็ตามที่ผู้ป่วยเคี้ยวแล้วเจ็บควรแนะนำให้
ผู้ป่วยตัดอาหารให้เป็นชิ้นเล็กไและต้มอาหารจกพวกผักและเนื้อให้เปื่อยก่อนรับประทาน
2. ประคบร้อน ประคบเย็น
ประคบบริเวณที่เป็นด้วยความร้อนหรือความเย็นความร้อน (moist heat) ใช้กระเป๋าน้ำร้อน หรือผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นบิดหมาดๆประคบนานประมาณ 20 นาที 2-4 ครั้งต่อวัน การใช้ความร้อนประคบนี้จะให้ความร้อนได้เฉพาะบริเวณพื้นผิว (1-5 มม.) ความร้อนจะช่วยให้เลือดหมุนเวียนดี และทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายข้อควรระวังในการใช้ความร้อนคือ ไม่ควรใช้กับการบาดเจ็บเฉียบพลัน (acute injury) ที่ยังไม่เกิน 72 ชม. และไม่ควรใช้เมื่อมีการติดเชื้อหรือการอักเสบเฉียบพลันความเย็น ใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบบริเวณที่เป็นหลาย ๆ นาที จนกระทั่งเริ่มรู้สึกชาจึง
เอาออกการใช้น้ำแข็งจะช่วยลดการอักเสบและให้ผลในด้านลดความเจ็บปวดด้วยข้อควรระวังคือไม่ควรใช้บริเวณที่มีการหมุนเวียนของเลือดน้อยหรือใช้บนบริเวณแผลเปิด
3. เลี่ยงการอ้าปากกว้าง
หลีกเลี่ยงการอ้าปากกว้าง เช่น การหาว การหัวเราะดังๆและการอ้าปากกัดอาหารหรือผลไม้
อาจจะแนะนำให้ผู้ป่วยใช้มือดันคางไว้ขณะหาวหรือใช้ลิ้นแตะเพดานปากไว้
4. เคี้ยวอาหารโดยใช้ฟันทั้ง 2 ข้าง
เคี้ยวอาหารโดยใช้ฟันทั้ง 2 ข้าง เพื่อลดแรงที่จะลงมากเกินไปบนข้างใดข้างหนึ่งและการเคี้ยว
อาหารในลักษณะขึ้นลงจะดีกว่าการบดอาหารโดยการเยื้องคางไปมา
5. จัดตำแหน่งขากรรไกรและลิ้น
ควรฝึกให้ตำแหน่งของขากรรไกรและลิ้นอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง โดยฟันไม่ควรจะชนกันในขณะพัก และลิ้นควรแตะเบาๆ อยู่บนเพดานปาก (tongue up, teeth apart)
6. เลี่ยงนิสัยไม่ดีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับระบบบดเคี้ยว
หลีกเลี่ยงนิสัยไม่ดีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบบดเคี้ยว (oral parafunction habits) เช่น การบด
ฟัน (bruxism) การขบเน้นฟัน (clenching) การกัดแก้มและริมฝีปากหรือกัดวัตถุต่าง ๆ เป็นต้น ส่วนการนอนกัดฟัน (Nocturnal bruxism) เป็นการกระท าขณะไม่รู้ตัว ผู้ป่ วยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ อาจจำเป็นต้องให้การรักษาอย่างอื่นต่อไป
7. ไม่ท้าวคาง
หลีกเลี่ยงการท้าวคาง หรือการกระทำใดๆ ที่ก่อให้เกิดแรงลงที่ขากรรไกร เช่นการหนีบโทรศัพท์ไว้ระหว่างคางกับคอขณะพูดสาย บางครั้งกีฬาบางประเภท เช่น ดำน้ำหรือการเล่นดนตรีบางประเภท เช่น ไวโอลิน ก็อาจทำให้เกิดแรงลักษณะนี้ได้
8. ไม่นอนคว่ำ
หลีกเลี่ยงการนอนคว่ำเนื่องจากการนอนคว่ำทำให้ขากรรไกรกดกับหมอนได้
9. เลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลม เนื่องจาก คาเฟอีนจ านวนมาก ๆ อาจทำให้กล้ามเนื้อหดตัวมากกว่าปกติได้
10. ใช้ยาแก้ปวดหรือแก้อักเสบ
หากจำเป็นจริง ๆ อาจใช้ยาแก้ปวดหรือแก้อักเสบ เช่น พาราเซตามอล, ไอบิวโพรเฟน หรือแอสไพริน บรรเทาอาการการให้ self-care จะช่วยส่งเสริมให้ระบบกล้ามเนื้อและข้อต่อหายจากการบาดเจ็บและช่วยป้องกันภยันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อระบบ ซึ่งโดยมากเพียงพอที่จะควบคุมอาการของผู้ป่วยTMD ได้ อย่างไรก็ตามในช่วงเวลา 4-6 สัปดาห์ ถ้าผู้ป่วยไม่ดีขึ้นควรที่จะตรวจและวินิจฉัยผู้ป่วยซ้ำและพิจารณาให้การรักษาอื่น ๆ เพิ่มเติมต่อไป
(Reference)
1. de leeuw R, Klasser GD, editors. Orofacial pain: Guideline of assessment, diagnosis, and management. 5 ed. Hanover Park: Quintessence Publishing Co, Inc; 2013.
2. Okeson JP. Management of Temporomandibular Disorders and Occlusion. 7th edition, StLouis, C.V. Mosby company, 2013